การก่อสร้าง ของ สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)

แผนผังแสดงเส้นทางสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5

สำหรับเงินลงทุนโครงการอยู่ที่ 3,640 ล้านบาท หรือประมาณ 9.75 แสนล้านกีบ แยกเป็น ค่าก่อสร้างถนน 890 ล้านบาท (ฝั่งไทย 750 ล้านบาท และฝั่งลาว 140 ล้านบาท) งานสะพาน 1,510 ล้านบาท (ฝั่งไทย 860 ล้านบาท และฝั่งลาว 650 ล้านบาท) อาคารสำนักงานด่าน 1,000 ล้านบาท (ฝั่งละ 500 ล้านบาท) และค่าเวนคืน 240 ล้านบาท ซึ่งการก่อสร้างฝั่งไทยจะใช้เงินงบประมาณ ส่วนฝั่งลาวจะใช้เงินกู้[ต้องการอ้างอิง]

แนวเส้นทางจะสร้างอยู่บนพื้นที่ตำบลวิศิษฐ์ ตำบลไคสี และตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ อยู่ตรงข้ามกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประเทศลาว โดยรูปแบบการก่อสร้างจะมีสะพานข้ามแม่น้ำโขง 1 แห่ง ความยาว 1.35 กม. ขนาด 2 ช่องจราจร เชื่อมโยงระหว่างฝั่งไทยกับลาว พร้อมถนนตัดใหม่เป็นลักษณะถนนเลี่ยงเมือง ขนาด 4 ช่องจราจร ในฝั่งไทย เพื่อเชื่อมต่อกับทางหลวงสาย 222 (บึงกาฬ-พังโคน) จาก จ.หนองคาย ไปยัง จ.นครพนม และ จ.สกลนคร ส่วนฝั่งลาวจะเป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ระยะทาง 2.86 กม.[ต้องการอ้างอิง]

ทั้งโครงการมีระยะทางรวม 16.18 กม. แยกเป็น งานก่อสร้างฝั่งไทย 12.13 กม. และฝั่งลาว 3.18 กม. โดยแนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นที่ฝั่งไทย อยู่ที่จุดตัดทางหลวงสาย 222 กม.ที่ 123+430 ใกล้กับที่ดินกรมทางหลวง จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตก ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม เลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับทางหลวงชนบทสาย 3217 ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้านหนองนาแซง แล้วมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม ตัดทางหลวงชนบทสาย 3013 ที่บ้านห้วยดอกไม้ ใกล้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยดอกไม้ แล้วมุ่งหน้าไปยังทิศทางเดิม ผ่านพื้นที่เกษตรกรรม และเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านด่านพรมแดนฝั่งไทย บริเวณทิศตะวันออกของหนองกุดจับ ก่อนยกระดับข้ามทางหลวงสาย 212 กม.ที่ 125+925 ที่บ้านดอนยม อยู่ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำโขง ประมาณ 200 เมตร จุดที่ข้ามแม่น้ำโขงจะผ่าน ต.บึงกาฬ ต.วิศิษฐ์ และ ต.ไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จะมีเวนคืนที่ดิน 620 ไร่ บริเวณฝั่งไทย เพื่อตัดถนนใหม่ จะผ่านจุดสลับทิศทางจราจร ข้ามด่านพรมแดนฝั่งลาว ทางฝั่งตะวันตกของหนองง้า และสิ้นสุดที่ทางหลวงสาย 13 กม.ที่ 136+677[ต้องการอ้างอิง]

มีการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทยและลาวเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ว่าจะให้เงินกู้กับทางรัฐบาลลาว เพื่อใช้ในการก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 แต่รัฐบาลจูมมะลี ไซยะสอน ได้ขอปฏิเสธเพราะว่าต้องการกู้เงินจากประเทศจีน[ต้องการอ้างอิง] สุดท้ายเมื่อบุนยัง วอละจิด ประธานประเทศคนต่อมา ได้นำข้อเสนอนี้กลับมาพิจารณาอีกครั้ง โดยได้ข้อสรุปว่าจะขอกู้เงินจากสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) แทน[1] ส่วนการก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในปี 2562[2] ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2562 [3]

ขณะนี้รัฐบาลสองประเทศและ สพพ. (NEDA) กำลังจัดตั้งขั้นตอนการประกวดราคา และจะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมไทย-ลาว พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาร่วมกันอีกครั้ง ตามแผนจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี[4]

ใกล้เคียง

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 4 (เชียงของ–ห้วยทราย) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 6 (นาตาล–ละคอนเพ็ง)

แหล่งที่มา

WikiPedia: สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) http://www.biztempnews.com/index.php/economics/ite... http://www.esanguide.com/news/detail.php?id=7965 http://www.posttoday.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%... http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsI... http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1... http://region1.prd.go.th/ewt_news.php?nid=9071 http://www.neda.or.th/home/weblink.php?id=138 https://www.posttoday.com/politic/332494 https://www.prachachat.net/property/news-56323 https://www.thairath.co.th/content/1110047